อัพเดต มาตรการรัฐ ปี 2567 คนซื้อบ้านต้องรู้

ใครที่วางแผนจะซื้อบ้าน-คอนโดในปีนี้ ห้ามพลาด! เราจะพาไปเจาะลึกมาตรการลดค่าโอน-จดจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้านไม่เกิน 7 ล้านบาท ในปี 2567
  • Refinance ได้ลดค่าจดจำนองด้วยมั้ย?
  • คำตอบคือ ไม่เข้าเกณฑ์ ได้เฉพาะคนที่ซื้อใหม่เท่านั้น
  • ถ้าไม่ได้ซื้อเป็นบ้านหลังแรกได้ลดค่าโอน-จดจำนองด้วยรึเปล่า?
  • คำตอบคือ ได้ลด ไม่ว่าจะซื้อเป็นบ้านหลังที่ 2, 3,… ก็ถือว่าเข้าเกณฑ์

รวมทั้งหมด 8 มาตรการ ตามไปดูรายละเอียดกัน ดังนี้

 

1. ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองบ้าน-คอนโดราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท

จากเดิมที่ 3 ล้านบาท สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ปี 2567 แบ่งเป็น

 

  • ลดค่าจดทะเบียนโอน อสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 0.01%
  • ลดค่าจดทะเบียนการจำนอง อสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01%
  • ประเภทอสังหาฯ ที่เข้ามาตรการ?

ที่อยู่อาศัยทั้งมือหนึ่งและมือสอง ทั้งบ้าน, คอนโด, อาคารพาณิชย์ และที่ดินพร้อมอาคาร ในราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาท สำหรับที่ดินเปล่าจะไม่เข้าเกณฑ*

2.ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ปลูกสร้างบ้านเอง

สำหรับผู้ปลูกสร้างบ้านเองจะมีสิทธินำค่าจ้างก่อสร้างไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10,000 บาทต่อทุก 1 ล้านบาท แต่รวมไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับสัญญาจ้างและการก่อสร้างในช่วง 9 เม.ย. 2567 – 31 ธ.ค. 2568

 

  • ผู้ที่เข้าเกณฑ์

บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) ที่จ้างก่อสร้างบ้านกับผู้รับจ้าง ซึ่งผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ลดหย่อนได้เฉพาะค่าจ้างก่อสร้างบ้านไม่เกิน 1 หลัง ในปีภาษีที่ก่อสร้างบ้านเสร็จ ตามสัญญาจ้างที่ได้กระทำขึ้นและเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 – 31 ธันวาคม 2568 และได้เสียอากรแสตมป์โดยวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

3. สินเชื่อบ้าน Happy Home จาก ธอส. อัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 5 ปี

ธอส. ออกสินเชื่อบ้าน Happy Home อัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 5 ปี เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร, บ้าน, คอนโด หรือปลูกสร้างบ้านใหม่

 

  • วงเงินกู้เท่าไหร่?

วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน  3 ล้านบาท ต่อรายต่อหลักประกัน

 

  • ระยะเวลากู้

ไม่น้อยกว่า 3 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้นข้าราชการตุลาการ อัยการ หรืออื่น ๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี ให้ใช้อายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี

4. สินเชื่อบ้าน Happy Life จาก ธอส. ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.98%

ธอส. ออกสินเชื่อบ้าน Happy Life ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.98% เพื่อใช้ซื้อ, สร้าง, ต่อเติมซ่อมแซม หรือ Refinance

 

  • วงเงินกู้เท่าไหร่

ตั้งแต่ 2.5 ล้านบาทขึ้นไป

 

  • ระยะเวลากู้

ไม่น้อยกว่า 3 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้น ข้าราชการตุลาการ อัยการ หรืออื่น ๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี ให้ใช้อายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี

5. ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.95%

ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.95% ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี เริ่มผ่อนขั้นต่ำเพียงเดือนละ 2,500 บาท สำหรับซื้อ,สร้างหรือ Refinance

**พิเศษวันที่ 16-19 พฤษภาคม 67 นี้จะมีงาน Money Expo ที่ ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งทางธนาคารแอบกระซิบมาว่าดอกเบี้ยภายในงานจะพิเศษกว่า

 

  • วงเงินกู้เท่าไหร่?

– ถ้าซื้อใหม่ มีวงเงินกู้สูงสุด 7 ล้านบาท
– ถ้า Refinance มีวงเงินกู้ขั้นต่ำ 1 ล้าน แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท

 

  • ระยะเวลากู้?

– รวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

 

  • ดอกเบี้ย 3 ปีเป็นแบบลอยตัวหรือคงที่

– คงที่ทั้ง 3 ปี
ปีแรก = 1.95%
ปีที่ 2 = 2.95%
ปีที่ 3 = 3.95%

6. กู้ซื้อบ้านหลังแรกได้สูงสุด 110%

ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ให้กู้ซื้อบ้านหลังแรกได้สูงสุด 110% ของมูลค่าหลักประกัน เพื่อนำส่วนเกินไปใช้ตกแต่งบ้านได้ รวมทั้งลดเงินดาวน์บ้านราคาเกิน 10 ล้านลงเหลือ 10% ส่วนหลังที่ 2,3 จะกู้ได้ไม่เต็ม 100%

*ที่มา : ธนาคารกสิกรไทย

 

  • สามารถกู้เกิน 100% เพื่อตกแต่งได้มั้ย

– ได้ เฉพาะการกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท จะสามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าหลักประกัน เพื่อการใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการเข้าอยู่อาศัยจริง เช่น การตกแต่งบ้าน, ทำโรงจอดรถ, ซื้อเฟอร์นิเจอร์, ซ่อมแซมหรือต่อเติม

  • ถ้าจะกู้บ้านหลังที่ 2 กู้เต็มได้มั้ย ต้องวางเงินดาวน์เท่าไหร่

– กู้เต็มไม่ได้ ต้องวางเงินดาวน์ 10-30% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ดังนี้

7. ปรับหลักเกณฑ์ LTV กรณีกู้ร่วม นับสัญญากู้เฉพาะผู้กู้ที่มีกรรมสิทธิ์

ปีนี้ทางภาครัฐก็ยังคงหลักเกณฑ์ LTV กรณีกู้ร่วม โดยให้นับสัญญาตามผู้กู้ที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์ ไม่นับผู้กู้ร่วมที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ช่วยกันกู้ซื้อบ้านได้มากขึ้น มาตรการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรแต่ถือว่าผู้กู้ร่วมในปีนี้ก็ได้ประโยชน์ไป

 

  • ถ้าเรากู้ร่วมเพื่อช่วยให้พี่น้องสามารถกู้ผ่าน แล้วเมื่อเราไปกู้บ้านหลังต่อไปจะกู้เต็มได้ไหม

หากผู้กู้ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยทั้งคู่จะนับสัญญาการกู้ร่วมนั้นว่าทั้งคู่มีสัญญาการกู้ร่วมคนละ 1 สัญญา แต่หากมีการกู้ร่วมแต่ไม่มีชื่อในกรรมสิทธิ์จะถือว่าผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ยังไม่มีเป็นผู้กู้ในครั้งนั้น

ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องกู้ร่วมเพื่อช่วยเหลือคนในครอบครัวให้กู้ผ่าน แต่ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ใดๆ เมื่อเวลาผ่านไปต้องการไปกู้ซื้อบ้านของตัวเองบ้างจะยังสามารถกู้ 100% ได้ ไม่ต้องวางเงินดาวน์ 10-20% ตามที่ LTV กำหนด

 

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านทุกคนที่กำลังเตรียมตัวหาข้อมูลซื้อบ้าน-คอนโด-ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และผู้ที่เตรียมตัว Refinance หวังว่าทุกคนจะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองและผ่อนบ้านได้อย่างสบายใจ

 

*แหล่งที่มาข้อมูล : www.thinkofliveing.com